วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ลูกแรดเตรียมพร้อมล่าเหยื่อ

ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ
-ได้ความรู้จากการเรียนหลายด้าน มีวิทยากรมาอธิบายให้ความรู้ให้เข้าใจ
-ได้ฝึกความมีระเบียบวินัย โดยเฉพาะการแต่งกายให้เรียบร้อย และการตรงต่อเวลา
-มีพัฒนาการด้านบุคลิกภาพที่ดีขึ้น
-ได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกับคนในสังคม ทำให้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เข้ากับคนอื่นได้ง่าย
-ได้ทราบถึงประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัยแห่งนี้
-ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารการเงินของตัวเอง และสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้
-ได้เข้าใจเรื่องราวของถาษาไทย ได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของการใช้คำพูดหรือการเขียนให้ถูกต้อง

-ได้เรียนรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานธุรกิจระหว่างประเทศ
จากการเรียนทำให้สามารถนำความรู้ที่ได้มาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้

DTS 9

1.การเรียงลำดับ (Sorting) เป็นการจัดเรียงให้เนระเบียบแบบแผน ช่วยในการค้นหาสิ่งของหรือข้อมูล ซึ่งจะสามารถกระทำได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
2.วิธีการเรียงลำดับสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
-การเรียงลำดับแบบภายใน (internal sorting) การเรียงลำดับที่ข้อมูลทั้งหมดต้องอยู่ในหน่วยความจำหลัก
-การเรียงลำดับแบบภายนอก (external sorting) การเรียงลำดับข้อมูลที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำสำรอง
3.การเรียงลำดับแบบเลือก (Selection Sort) ทำการเลือกข้อมูลมาเก็บในตำแหน่งที่ข้อมูลนั้นควรจะอยู่ทีละตัว
4.การเรียงลำดับแบบฟอง (Bubble Sort) เป็นวิธีการเรียงลำดับที่มีการเปรียบเทียบข้อมูลในตำแหน่งที่อยู่ติดกัน
5.การเรียงลำดับแบบเร็ว (Quick Sort) เป็นวธีการเรียงลำดับที่ใช้เวลาน้อยเหมาะสำหรับข้อมูลที่มีจำนวนมากที่ต้องการความรวดเร็วในการทำงาน
6.การเรียงลำดับแบบแทรก (Insertion Sort) เป็นวิธีการเรียงลำดับที่ทำการเพิ่มสมาชิกใหม่เข้าไปในเซต ที่มีสมาชิกทุกตัวเรียงลำดับอยู่แล้ว และทำให้เซตใหม่ที่ได้นี้มีสมาชิกทุกตัวเรียงลำดับด้วย
7.การเรียงลำดับแบบฐาน (Radix Sort) เป็นการเรียงลำดับโดยการพิจารณาข้อมูลทีละหลัก

DTS 8

1.กราฟ (Graph) เป็นโครงสร้างข้อมูลแบบไม่เชิงเส้น อีกชนิดหนึ่ง มีการนำไปใช้งานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อน
2.กราฟ ประกอบด้วยกลุ่มของสิ่งสองสิ่ง คือ
-โหนด (Nodes) หรือ เวอร์เทกซ์ (Vertexes)
-เส้นเชื่อมระหว่างโหนด เรียกว่า เอ็จ (Edges)
กราฟที่มีเอ็จเชื่อมระหว่างโหนดสองโหนดถ้าเอ็จไม่มีลำดับ ความสัมพันธ์จะเรียกกราฟนั้นว่า กราฟแบบไม่มีทิศทาง (Undirected Graphs)
ถ้ากราฟนั้นมีเอ็จที่มีลำดับ เรียกว่า กราฟแบบมีทิศทาง (Directed Graphs)
3.การแทนที่กราฟในหน่วยความจำ ในการปฏิบัติการกับครงสร้างกราฟ สิ่งที่ต้องการจัดเก็บจากกราฟโดยทั่วไปก็คือ เอ็จ ซึ่งเป็นเส้นเชื่อมระหว่างหนดสองโหนด มีวิธีการจัดเก็บหลายวิธี วิธีที่ง่ายและตรงไปตรงมาที่สุด คือ การเก็บเอ็จในแถวลำดับ 2 มิติ
4.กราฟที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอาจจะใช้วิธีแอดจาเซนซี่ลิสต์ (Adjacency List) เป็นวิธีคล้ายวิธีจัดเก็บกราฟด้วยการเก็บโหนดและพอยน์เตอร์ ต่างกันตรงที่ จะใช้ลิงค์ลิสต์แทนเพื่อความสะดวกในการเปลี่ยนแปลงแก้ไข
5.การท่องไปในกราฟ (graph traversal) คือ กระบวนการเข้าไปเยือนโหนดในกราฟ โดยมีหลักการทำงานคือ แต่ละโหนดจะถูกเยือนเพียงครั้งเดียว สำหรับการท่องไปในทรีเพื่อเยือนแต่ละโหนดนั้นจะมีเส้นทางเดียว แต่ในกราฟระหว่างโหนดอาจจะมีหลายทาง ดังนั้นเพื่อป้องกันการท่องไปในเส้นทางที่ซ้ำเดิมจึงจำเป็นต้องทำเครื่องหมายบริเวณที่ได้เยือนเรียบร้อยแล้ว

DTS 7

1.ทรี (Tree) เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ความสัมพันธ์ระหว่างโหนดจะมีความสัมพันธ์ลดหลั่นกันเป็นลำดับชั้น (Hierarchical Relationship)
2.แต่ละโหลดจะมีความสัมพันธ์กับโหนดในระดับที่ต่ำลงมา หนึ่งระดับได้หลายๆโหนดดังกล่าวเรียกว่า โหนดแม่ (Parent or Mother Node)
-โหนดที่อยู่ต่ำกว่าโหนดแม่หนึ่งระดับเรียกว่า โหนดลูก (Child or Son Node)
-โหนดที่อยู่ในระดับสูงสุดและไม่มีโหนดแม่เรียกว่า โหนดราก (Root Node)
-โหนดที่มีโหนดแม่เป็นโหนดเดียวกันเรียกว่า โหนดพี่น้อง (Siblings)
-โหนดที่ไม่มีโหนดลูกเรียกว่า โหนดใบ (Leave Node)
-เส้นเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าโหนดสองโหนดเรียกว่า กิ่ง Branch)
3.ทรี คือกราฟที่ต่อเนื่องโดยไม่มีวงจรปิด (Loop) ในโครงสร้าง โหนดสองโหนดใดๆในทรีต้องมีทางติดต่อกันทางเดียวเท่านั้น และทรีที่มี N โหนด ต้องมีกิ่งทั้งหมด N-1 เส้น
4.ไบนารี่ทรีทุกๆโหนดมีทรีย่อยทางซ้ายและทรีย่อยทางขวา ยกเว้นโหนดใบ และโหนดใบทุกโหนดจะต้องอยู่ที่ระดับเดียวกัน เรียกว่า ไบนารี่แบบสมบูรณ์ (Complete binary tree)
5.การท่องไปในทรีมี 6 วิธี แต่วิธีที่นิยมใช้เป็นการท่องจากซ้ายไปขวา 3 แบบแรกเท่านั้น คือ NLR LNR และ LRN

DTS 6

1.คิว (Queue) เป็นโครงสร้างข้อมูลแบบเชิงเส้นหรือลิเนียร์ลิสต์ การเพิ่มข้อมูลจะกระทำที่ปลายข้างหนึ่งซึ่งเรียกว่าส่วนท้ายหรือเรียร์ (rear) และการนำข้อมูลออกจะกระทำที่ปลายอีกข้างหนึ่งเรียกว่า ส่วนหน้า หรือฟรอนต์ (front)
2.การทำงานของคิว เป็นลักษณะของการเข้าก่อนออกก่อนหรือที่เรียกว่า FIFO (First In First Out)
3.การแทนที่ข้อมูลของคิว สามารถทำได้ 2 วิธี คือ
-การแทนที่ข้อมูลของคิวแบบลิงค์ลิสต์
-การแทนที่ข้อมูลของคิวแบบอะเรย์
4.การแทนที่ข้อมูลของแสตกแบบลิงค์ลิสต์จะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ
-Head Nod ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ พอยเตอร์จำนวน 2 ตัว คือ Front และ rear กับจำนวนสมาชิกในคิว
-Data Node ประกอบไปด้วยข้อมูล (Data) และพอยเตอร์ที่ชี้ไปยังข้อมูลตัวถัดไป
5.การนำเข้าข้อมูลสู่คิว จะไม่สามารถนำเข้าในขณะที่คิวเต็ม หรือไม่มีที่ว่าง ถ้าพยายามนำเข้าจะทำให้เกิดความผิดพลาดที่เรียกว่า overflow
การนำข้อมูลออกจากคิว จะไม่สามารถนำอะไรออกจากคิวที่ว่างเปล่าได้ ถ้าพยายามจะเกิดความผิดพลาดเรียกว่า underflow

วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

DTS 5

1.Circular Linked List เป็นลิงค์ลิสต์ที่สมาชิกตัวสุดท้ายมีตัวชี้(list)ชี้ไปที่สมาชิกตัวแรกของลิสต์ จะมีการทำงานไปในทิศทางเดียว คือเป็นแบบวงกลม
2.Double Linked List เป็นลิงค์ลิสต์ที่มีทิศทางการทำงานแบบ 2 ทิศทาง ส่วนข้อมูลจะมีตัวชี้ไปที่ข้อมูลก่อนหน้า และตัวชี้ข้อมูลถัดไป
3.แสตก(Stack)เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ข้อมูลแบบลิเนียร์ลิสต์ ที่มีคุณสมบัติที่ว่า การเพิ่มหรือลบข้อมูลในแสตกจะกระทำที่ปลายข้างเดียวกัน ซึ่งเรียกว่า Top ของแสตก
4.การทำงานของแสตกมี 3 กระบวนการที่สำคัญ คือ
-Puch คือ การนำข้อมูลใส่ลงไปในแสตก
-Pop คือ การนำข้อมูลออกจากส่วนบนสุดของแสตก
-Stack Top เป็นการคัดลอกข้อมูลที่อยู่บนสุดของแสตก แต่ไม่ได้นำเอาข้อมูลนั้นออกจากแสตก

วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

DTS 4

1.ฟังก์ชัน gets()เป็นฟังก์ชันที่อ่านค่าจากแป้นพิมพ์มาเก็บไว้ในหน่วยความจำ
2.ฟังก์ชัน puts()ใช้ในการพิมพ์สตริงออกทางจอภาพ โดยการผ่านค่าแอดเดรสของสตริงไปให้เท่านั้น
3.อะเรย์ของสตริงที่ยาวเท่ากัน
-อะเรย์ในลักษณะนี้จะถือว่าเป็นอะเรย์ที่แท้จริงและสามารถกำหนดได้ทั้งเมื่อมีการให้ค่าเริ่มต้น และกำหนดเป็นตัวแปร โดยดำเนินการตามแบบการกำหนดอะเรย์ 2 มิติ
4.ลิงค์ลิส(Linked List)
-เป็นวิธีการเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องของอิลิเมนต์ต่างๆ โดยมีพอยเตอร์เป็นตัวเชื่อมต่อ
5.แต่ละอิลิเมนท์ เรียกว่าโนด(Node)ซึ่งในแต่ละโนดจะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ Data และ Link Field
6.โครงสร้างข้อมูลแบบลิงค์ลิส แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ
-Head Structure
-Data Node Structure

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

DTS 3

1.Pointer เป็นตัวแปรชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่เก็บตำแหน่งที่อยู่ (Address) ของตัวแปรที่อยู่ในหน่วยความจำ
2.เครื่องหมาย * มีการใช้งาน 2 ลักษณะ คือ
-ใช้ในการประกาศ Parameter ว่าเป็นตัวแปรแบบพอยน์เตอร์
-ใช้เป็น dereferencing operator จะใช้เมื่อต้องการนำคำที่อยู่ในตำแหน่งที่ตัวแปรพอยน์เตอร์นั้นชี้อยู่
3.โครงสร้างข้อมูลแบบเซ็ท เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ข้อมูลแต่ละตัวไม่มีความสัมพันธ์กัน
4.โครงสร้างข้อมูลแบบสตริง เป็นข้อมูลที่ประกอบไปด้วย ตัวอักษร ตัวเลขหรือเครื่องหมายเรียงติดต่อกันไป รวมทั้งช่องว่าง
5.สตริงก็คืออะเรย์ของอักขระที่ปิดท้ายด้วย null character (\0)และมีฟังก์ชันพิเศษสำหรับทำงานกับสตริงโดยเฉพาะ

วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

คำถามท้ายบทที่ 2

1.ให้นักศึกษากำหนดค่าของ Array 1 มิติ และ Array 2 มิติ
- Array 1 มิติ in num[5] = {1,2,3,4,5}
- Array 2 มิติ in a[2][3] = {{1,2,3},{4,5,6}}
2.ให้นักศึกษาหาค่าของ A[2], A[6] จากค่า A={2,8,16,24,9,7,3,8}
- A[2], A[6] = 16,3
3.จากค่าของ int a[2][3] = {{6,5,4},{3,2,1}};
ให้นักศึกษา หาค่าของ a[1][0] และ a[0][2]
- a[1][0] = 3
- a[0][2] = 4
4.ให้นักศึกษากำหนด Structure ที่มีค่าของข้อมูลอย่างน้อย 6 Records
#include "stdio.h"
struct time
{
int day;
int month;
int year;
};
struct Regis
{
char name[30];
char lastname[30];
char id[15];
struct time date;
}details;
void input_data()
{
printf("Register\n");
printf("Name : ");
scanf("%s",&details.name);
printf("Lastname : ");
scanf("%s",&details.lastname);
printf("id = ");
scanf("%s",&details.id);
printf("Day-Month-Year : ");
scanf("%d-%d-%d",&details.date.day,&details.date.month,&details.date.year);
}
void show_data()
{
printf("\nInformation Regis\n");
printf("Your Name : %s\n",details.name);
printf("Your Lastname : %s\n",details.lastname);
printf("Your ID : %s\n",details.id);
printf("Date : %d-%d-%d",details.date.day,details.date.month,details.date.year);
}
main()
{
input_data();
show_data();
return (0);
}
5.ให้นักศึกษาบอกความแตกต่างของการกำหนดตัวแปรชนิด Array กับตัวแปร Pointer ในสภาพของการกำหนดที่อยู่ของข้อมูล
- การกำหนด Array คือ การกำหนดชื่ออะเรย์ พร้อม subscript ซึ่งเป็นตัวกำหนดขอบเขตของอะเรย์
- ส่วน Pointer คือ ตัวแปรที่ทำหน้าที่เก็บตำแหน่งที่อยู่ (Address) ของตัวแปรที่อยู่ในหน่วยความจำ

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

แนะนำตัว

DTS 2

1.อะเรย์เป็นโครงสร้างข้อมูลที่เรียกว่า Linear List มีลักษณะคล้ายเซ็ทในคณิตศาสตร์
2.ประเภทของอะเรย์ในมิติต่างๆมีดังนี้
-อะเรย์ 1 มิติ
-อะเรย์หลายมิติ
3.Record or Structure เป็นโครงาร้างข้อมูลที่ประกอบมาจากข้อมูลพื้นฐานต่างประเภทกัน รวมเป็น 1 ชุดข้อมูล
4.การผ่าน structure ให้ฟังก์ชัน มี2ประเภท คือ
-ส่งสมาชิกแต่ละตัวของ structure
-ส่งทั้ง structure
5.ได้เรียนรู้ถึงความหมาย และการทำงานของ Pointer

การบ้าน Structure (การลงทะเบียนเรียน)

#include "stdio.h"
struct time
{
int day;
int month;
int year;
};
struct Regis
{
char name[30];
char lastname[30];
char id[15];
char subject_name[50];
char subject_code[10];
struct time date;
}details;
void input_data()
{
printf("Register\n");
printf("Name : ");
scanf("%s",&details.name);
printf("Lastname : ");
scanf("%s",&details.lastname);
printf("id = ");
scanf("%s",&details.id);
printf("Subject Name : ");
scanf("%s",&details.subject_name);
printf("Subject Code : ");
scanf("%s",&details.subject_code);
printf("Day-Month-Year : ");
scanf("%d-%d-%d",&details.date.day,&details.date.month,&details.date.year);
}
void show_data()
{
printf("\nInformation Regis\n");
printf("Your Name : %s\n",details.name);
printf("Your Lastname : %s\n",details.lastname);
printf("Your ID : %s\n",details.id);
printf("Subject Name : %s\n",details.subject_name);
printf("Subject Code : %s\n",details.subject_code);
printf("Date : %d-%d-%d",details.date.day,details.date.month,details.date.year);
}
main()
{
input_data();
show_data();
return (0);
}

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ประวัติส่วนตัว


นาย นรุตม์ ลิ่มสกุล
Mr.Narut limsakul
รหัส 50152792081

หลักสูตร : การบริหารธุรกิจ(คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)
คณะ วิทยาการการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
Email : u50152792081@Gmail.com