วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ลูกแรดเตรียมพร้อมล่าเหยื่อ

ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ
-ได้ความรู้จากการเรียนหลายด้าน มีวิทยากรมาอธิบายให้ความรู้ให้เข้าใจ
-ได้ฝึกความมีระเบียบวินัย โดยเฉพาะการแต่งกายให้เรียบร้อย และการตรงต่อเวลา
-มีพัฒนาการด้านบุคลิกภาพที่ดีขึ้น
-ได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกับคนในสังคม ทำให้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เข้ากับคนอื่นได้ง่าย
-ได้ทราบถึงประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัยแห่งนี้
-ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารการเงินของตัวเอง และสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้
-ได้เข้าใจเรื่องราวของถาษาไทย ได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของการใช้คำพูดหรือการเขียนให้ถูกต้อง

-ได้เรียนรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานธุรกิจระหว่างประเทศ
จากการเรียนทำให้สามารถนำความรู้ที่ได้มาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้

DTS 9

1.การเรียงลำดับ (Sorting) เป็นการจัดเรียงให้เนระเบียบแบบแผน ช่วยในการค้นหาสิ่งของหรือข้อมูล ซึ่งจะสามารถกระทำได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
2.วิธีการเรียงลำดับสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
-การเรียงลำดับแบบภายใน (internal sorting) การเรียงลำดับที่ข้อมูลทั้งหมดต้องอยู่ในหน่วยความจำหลัก
-การเรียงลำดับแบบภายนอก (external sorting) การเรียงลำดับข้อมูลที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำสำรอง
3.การเรียงลำดับแบบเลือก (Selection Sort) ทำการเลือกข้อมูลมาเก็บในตำแหน่งที่ข้อมูลนั้นควรจะอยู่ทีละตัว
4.การเรียงลำดับแบบฟอง (Bubble Sort) เป็นวิธีการเรียงลำดับที่มีการเปรียบเทียบข้อมูลในตำแหน่งที่อยู่ติดกัน
5.การเรียงลำดับแบบเร็ว (Quick Sort) เป็นวธีการเรียงลำดับที่ใช้เวลาน้อยเหมาะสำหรับข้อมูลที่มีจำนวนมากที่ต้องการความรวดเร็วในการทำงาน
6.การเรียงลำดับแบบแทรก (Insertion Sort) เป็นวิธีการเรียงลำดับที่ทำการเพิ่มสมาชิกใหม่เข้าไปในเซต ที่มีสมาชิกทุกตัวเรียงลำดับอยู่แล้ว และทำให้เซตใหม่ที่ได้นี้มีสมาชิกทุกตัวเรียงลำดับด้วย
7.การเรียงลำดับแบบฐาน (Radix Sort) เป็นการเรียงลำดับโดยการพิจารณาข้อมูลทีละหลัก

DTS 8

1.กราฟ (Graph) เป็นโครงสร้างข้อมูลแบบไม่เชิงเส้น อีกชนิดหนึ่ง มีการนำไปใช้งานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อน
2.กราฟ ประกอบด้วยกลุ่มของสิ่งสองสิ่ง คือ
-โหนด (Nodes) หรือ เวอร์เทกซ์ (Vertexes)
-เส้นเชื่อมระหว่างโหนด เรียกว่า เอ็จ (Edges)
กราฟที่มีเอ็จเชื่อมระหว่างโหนดสองโหนดถ้าเอ็จไม่มีลำดับ ความสัมพันธ์จะเรียกกราฟนั้นว่า กราฟแบบไม่มีทิศทาง (Undirected Graphs)
ถ้ากราฟนั้นมีเอ็จที่มีลำดับ เรียกว่า กราฟแบบมีทิศทาง (Directed Graphs)
3.การแทนที่กราฟในหน่วยความจำ ในการปฏิบัติการกับครงสร้างกราฟ สิ่งที่ต้องการจัดเก็บจากกราฟโดยทั่วไปก็คือ เอ็จ ซึ่งเป็นเส้นเชื่อมระหว่างหนดสองโหนด มีวิธีการจัดเก็บหลายวิธี วิธีที่ง่ายและตรงไปตรงมาที่สุด คือ การเก็บเอ็จในแถวลำดับ 2 มิติ
4.กราฟที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอาจจะใช้วิธีแอดจาเซนซี่ลิสต์ (Adjacency List) เป็นวิธีคล้ายวิธีจัดเก็บกราฟด้วยการเก็บโหนดและพอยน์เตอร์ ต่างกันตรงที่ จะใช้ลิงค์ลิสต์แทนเพื่อความสะดวกในการเปลี่ยนแปลงแก้ไข
5.การท่องไปในกราฟ (graph traversal) คือ กระบวนการเข้าไปเยือนโหนดในกราฟ โดยมีหลักการทำงานคือ แต่ละโหนดจะถูกเยือนเพียงครั้งเดียว สำหรับการท่องไปในทรีเพื่อเยือนแต่ละโหนดนั้นจะมีเส้นทางเดียว แต่ในกราฟระหว่างโหนดอาจจะมีหลายทาง ดังนั้นเพื่อป้องกันการท่องไปในเส้นทางที่ซ้ำเดิมจึงจำเป็นต้องทำเครื่องหมายบริเวณที่ได้เยือนเรียบร้อยแล้ว

DTS 7

1.ทรี (Tree) เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ความสัมพันธ์ระหว่างโหนดจะมีความสัมพันธ์ลดหลั่นกันเป็นลำดับชั้น (Hierarchical Relationship)
2.แต่ละโหลดจะมีความสัมพันธ์กับโหนดในระดับที่ต่ำลงมา หนึ่งระดับได้หลายๆโหนดดังกล่าวเรียกว่า โหนดแม่ (Parent or Mother Node)
-โหนดที่อยู่ต่ำกว่าโหนดแม่หนึ่งระดับเรียกว่า โหนดลูก (Child or Son Node)
-โหนดที่อยู่ในระดับสูงสุดและไม่มีโหนดแม่เรียกว่า โหนดราก (Root Node)
-โหนดที่มีโหนดแม่เป็นโหนดเดียวกันเรียกว่า โหนดพี่น้อง (Siblings)
-โหนดที่ไม่มีโหนดลูกเรียกว่า โหนดใบ (Leave Node)
-เส้นเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าโหนดสองโหนดเรียกว่า กิ่ง Branch)
3.ทรี คือกราฟที่ต่อเนื่องโดยไม่มีวงจรปิด (Loop) ในโครงสร้าง โหนดสองโหนดใดๆในทรีต้องมีทางติดต่อกันทางเดียวเท่านั้น และทรีที่มี N โหนด ต้องมีกิ่งทั้งหมด N-1 เส้น
4.ไบนารี่ทรีทุกๆโหนดมีทรีย่อยทางซ้ายและทรีย่อยทางขวา ยกเว้นโหนดใบ และโหนดใบทุกโหนดจะต้องอยู่ที่ระดับเดียวกัน เรียกว่า ไบนารี่แบบสมบูรณ์ (Complete binary tree)
5.การท่องไปในทรีมี 6 วิธี แต่วิธีที่นิยมใช้เป็นการท่องจากซ้ายไปขวา 3 แบบแรกเท่านั้น คือ NLR LNR และ LRN

DTS 6

1.คิว (Queue) เป็นโครงสร้างข้อมูลแบบเชิงเส้นหรือลิเนียร์ลิสต์ การเพิ่มข้อมูลจะกระทำที่ปลายข้างหนึ่งซึ่งเรียกว่าส่วนท้ายหรือเรียร์ (rear) และการนำข้อมูลออกจะกระทำที่ปลายอีกข้างหนึ่งเรียกว่า ส่วนหน้า หรือฟรอนต์ (front)
2.การทำงานของคิว เป็นลักษณะของการเข้าก่อนออกก่อนหรือที่เรียกว่า FIFO (First In First Out)
3.การแทนที่ข้อมูลของคิว สามารถทำได้ 2 วิธี คือ
-การแทนที่ข้อมูลของคิวแบบลิงค์ลิสต์
-การแทนที่ข้อมูลของคิวแบบอะเรย์
4.การแทนที่ข้อมูลของแสตกแบบลิงค์ลิสต์จะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ
-Head Nod ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ พอยเตอร์จำนวน 2 ตัว คือ Front และ rear กับจำนวนสมาชิกในคิว
-Data Node ประกอบไปด้วยข้อมูล (Data) และพอยเตอร์ที่ชี้ไปยังข้อมูลตัวถัดไป
5.การนำเข้าข้อมูลสู่คิว จะไม่สามารถนำเข้าในขณะที่คิวเต็ม หรือไม่มีที่ว่าง ถ้าพยายามนำเข้าจะทำให้เกิดความผิดพลาดที่เรียกว่า overflow
การนำข้อมูลออกจากคิว จะไม่สามารถนำอะไรออกจากคิวที่ว่างเปล่าได้ ถ้าพยายามจะเกิดความผิดพลาดเรียกว่า underflow